เหล็กโครงสร้างที่นำมาใช้ในการสร้างบ้านมีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับการออกแบบโดยวิศวกรจะมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย ในตลาดปัจจุบันจะมีทั้งเหล็กเต็มที่เป็นมอกหรือเหล็กโรงใหญ่ และมีเหล็กไม่เต็มที่ราคาจะถูก ดังนั้นหากจะเลือกซื้อเหล็กให้ได้มาตรฐานตามที่วิศวกรกำหนดเราต้องเลือกซื้อเหล็กโรงใหญ่ มาดูขนาดและน้ำหนักของเหล็กเส้นข้ออ้อยและเหล็กเส้นกลมที่นิยมนำมาสร้างบ้านกันครับ
ขนาดเหล็กเส้นข้ออ้อย มอก | น้ำหนัก |
---|---|
DB12 SD40T x 10M | 8.88 กิโลกรัมต่อเส้น |
DB16 SD40T x 10M | 15.78 กิโลกรัมต่อเส้น |
DB20 SD40T x 10M | 24.66 กิโลกรัมต่อเส้น |
DB25 SD40T x 10M | 38.53 กิโลกรัมต่อเส้น |
      วิธีดูเหล็ก เหล็กที่ซื้อไม่ว่าจากโรงเหล็กโดยตรง หรือไทวัสดุ ดูโฮม ถ้าเป็นเหล็กโรงใหญ่หรือเหล็ก มอก จะมียี่ห้อของเหล็กประทับอยู่บนเหล็กทุกๆ 2-3 เมตรจากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่ามีตรา BNS DB16 SD40T เขียนไว้อยู่ซึ่งยี่ห้อของเหล็กคือ BNS เป็นบริษัท บีเอ็นเอสสตีลกรุ๊ป ของไทยเป็นเหล็กมอก และมีขนาดของเหล็กระบุไว้ชัดเจนว่า DB16 หมายความว่าเส้นผ้าศูนย์กลางของเหล็กอยู่ที่ 16 มิลหรือ 1.6 ซมเราสามารถเอาตลับเมตรวัดตรวจสอบได้ว่าถึงไหมหากถึง 16 มิลแสดงว่าเป็นเหล็กเต็ม ต่อไปมาดูขนาดของเหล็กเส้นกลมที่ใช้หลักๆในการสร้างบ้านและน้ำหนักกันครับ
ขนาดเหล็กเส้นกลม มอก | น้ำหนัก |
---|---|
RB6 SR24 6mm x 10M | 2.22 กิโลกรัมต่อเส้น |
RB9 SR24 9mm. x 10M | 4.99 กิโลกรัมต่อเส้น |
RB12 SR24 12mm. x 10M | 8.88 กิโลกรัมต่อเส้น |
      เหล็ก SD40 กับ SD40T ต่างกันอย่างไร บนเหล็กเส้นข้ออ้อยจะมีคำว่า SD40 กับ SD40T ต่างกันอย่างไร เหล็กที่มีเขียนคำว่า SD40T ถ้าเลือกได้และราคาใกล้เคียงกัน ให้เลือกเหล็กที่มีเขียน SD40T ดีกว่าเพราะผ่านกระบวนการ TMT ทำให้เหล็กทนทานกว่า ดัดโค้งได้ง่ายกว่าไม่เปราะหัก
รายการ | SD40 | SD40T |
---|---|---|
ค่ากำลังยืด (Yield Strength) | 400 MPa | 400 MPa |
ค่ากำลังดึง (Ultimate Tensile Strength) | สูงกว่า 400 MPa (ตามมาตรฐาน) | สูงกว่า 400 MPa เช่นเดียวกัน |
วิธีการผลิต | รีดร้อน | TMT (Thermo-Mechanical Treatment) |
ความเหนียว | ปานกลาง | เหนียวมากกว่า |
ความแข็งแรงโดยรวม | ใกล้เคียงกัน | ดีกว่าเล็กน้อย |
      เหล็กโครงสร้างขึ้นสนิมทำอย่างไรดีอย่างในรูปเมื่อเห็นเหล็กที่ช่างก่อสร้างจะเอามาใช้เป็นเหล็กคานหรือเหล็กเสาจะทำให้เกิดความไม่สบายใจว่าใช้ๆไปแล้วอีกหน่อยสนิมจะกระเทาะปูนออกมาแล้วทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างไหม ในงานก่อสร้างให้จำไว้เสมอว่างานซ่อมมักจะแพงกว่าทำใหม่เสมอเลยต้องทำให้ดีตั้งแต่แรก ขั้นตอนแรกเลยให้สังเกตว่าสนิมอยู่แค่บริเวณผิวหรือไปถึงด้านในโดยไปซื้อใบขัดแปรงลวด 4 นิ้วที่เป็นถ้วยมาใส่ในหินเจียรและทำการขัด
      หากทำการขัดแล้วสนิมที่เขรอะอยู่หลุดออกแสดงว่าสนิมนั้นอยู่เพียงแค่ผิวมาดูการทำงานของช่างกันครับ ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ช่างทำการขัดสนิมออกจากผิวและระหว่างขัดก็ควรหมุนเหล็กไปเรื่อยๆจะได้ขัดสนิมออกทุกด้าน อันนี้คุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับไปซื้อเหล็กเส้นใหม่ช่างหนึ่งคนสามารถขัดสนิมแบบนี้บนเหล็กออกได้มากกว่า 10 เส้นต่อวันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้สูงเลยทีเดียว
      หลังจากทำการขัดเราสามารถฉีดน้ำบนเหล็กและเอาไปใช้ได้ทันที แต่หากหลังจากขัดแล้วยังมีสนิมอยู่ไม่ควรนำมาใช้ในโครงสร้างเสาหรือบ้านเพราะจะทำให้เกิดผลเสียตามมา