เสาเข็มที่ใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้จะมีเสาเข็มแบบตอก เสาเข็มแบบเจาะ เสาเข็มที่กดด้วยระบบไฮดรอลิก และไมโครไพล์ เราจะต้องใช้แบบไหนทางวิศวกรจะเป็นคนกำหนดและระบุอยู่ในแบบขออนุญาตก่อสร้าง หากพื้นที่ๆก่อสร้างอยู่ในกรุงเทพและมีผู้อาศัยหนาแน่นมักจะใช้เข็มเจาะ หากอยู่นอกกรงุเทพและบริเวณข้างเคียงไม่มีผู้พักอาศัยจะใช้เข็มตอกได้ เข็มตอกจะมีราคาถูกกว่าเข็มเจาะอยู่ประมาณ 20-30% ความยาวของเข็มจะอยู่ระหว่าง 8-21 เมตรขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินบริเวณนั้น หลายท่านมีคำถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตรงที่ของเราที่จะใช้ก่อสร้างควรใช้เข็มลึกกี่เมตร หากต้องการความแน่นอนเราจะต้องใช้ soil boring test หรือการเจาะสำรวจชั้นดินซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แนะนำให้เทสไปเลยนะครับไม่ควรประหยัดเงินในขั้นตอนนี้
      เสาเข็มแบบตอกรูปตัวไอมีขนาด
ขณาดเสาเข็มรูปตัว I(m) | พื้นที่หน้าตัด (cm2) | เส้นรอบรูป(cm) | น้ำหนัก Weight(kg/m) | รับน้ำหนักปลอดภัย(tons) | ความยาว (m) |
---|---|---|---|---|---|
I-0.18×0.18 | 207 | 91.71 | 49.68 | 10-15 | 8-21 |
I-0.22×0.22 | 337 | 107.97 | 80.88 | 20-25 | 8-21 |
I-0.22×0.22 | 386 | 109.12 | 92.64 | 20-25 | 8-21 |
I-0.26×0.26 | 455 | 128.06 | 109.20 | 30-40 | 8-21 |
I-0.26×0.26 | 489 | 131.36 | 116.88 | 30-40 | 8-21 |
I-0.30×0.30 | 600 | 147.08 | 144 | 40-45 | 8-21 |
I-0.30×0.30 | 660 | 149.76 | 158.40 | 40-45 | 8-21 |
I-0.30×0.30 | 660 | 149.76 | 158.40 | 40-45 | 8-21 |
I-0.35×0.35 | 780 | 178.66 | 187.20 | 45-55 | 8-21 |
I-0.35×0.35 | 880 | 172.7 | 211.20 | 45-55 | 8-21 |
I-0.40×0.40 | 1240 | 197.47 | 297.60 | 55-70 | 8-21 |
      เสาเข็มแบบตอกรูปสี่เหลี่ยมมีขนาด
ขณาดเสาเข็ม(m) | พื้นที่หน้าตัด (cm2) | เส้นรอบรูป(cm) | น้ำหนัก Weight(kg/m) | รับน้ำหนักปลอดภัย(tons) | ความยาว (m) |
---|---|---|---|---|---|
I-0.18×0.18 | 324 | 72 | 77.76 | 20-25 | 8-21 |
I-0.20×0.20 | 400 | 80 | 96 | 25-30 | 8-21 |
I-0.22×0.22 | 484 | 88 | 116.16 | 30-35 | 8-21 |
I-0.26×0.26 | 676 | 104 | 162.24 | 40-45 | 8-21 |
I-0.30×0.30 | 900 | 120 | 216 | 45-55 | 8-21 |
I-0.35×0.35 | 1225 | 140 | 294 | 55-70 | 8-21 |
I-0.40×0.40 | 1600 | 160 | 384 | 70-90 | 8-21 |
     
      เมื่อเข็มเจาะได้ตามจำนวนต้องการก็ต้องทำการขุดหลุมรอบๆเข็มเพื่อตัดหัวเข็มและทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มหรือ seismic test ค่าใช้จ่ายในการทำ seismic test จะอยู่ที่ประมาณต้นละ 200-350 บาทควรจะเทสทุกต้นนะครับ
      ในขั้นตอนการตัดเสาเข็มจะใชเครื่องเจียใบตัดขนาด 7 นิ้วตัดรอบๆเข็มตามตำแหน่งที่ต้องการรอบๆก่อนกันเสาเข็มบิ่นระหว่างการแย็ก และหลังจากนั้นใช้เครื่องสกัดไฟฟ้าหรือเครื่องแย็กปูนออกก็จะได้เข็มที่บริเวณปลายสวยแบบในรูปครับหลังจากนั้นก็จะสามารถทดสอบความ สมบูรณ์ของเสาเข็มได้และเมื่อทดสอบผ่านแล้วก็สามารถเข้าแบบเพื่อทำการเทลีนและเข้าแบบเหล็กฟุตติ้งต่อไป
      ตารางการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ
ขณาดเสาเข็มเส้นผ่าศูนย์กลาง(cm) | พื้นที่หน้าตัด (cm2) | เส้นรอบวงเสาเข็ม(cm) | ความลึก(m) | รับน้ำหนักปลอดภัย(tons) |
---|---|---|---|---|
0.35 ซม. | 962 | 110 | 16-23 | 30-40 |
0.40 ซม. | 1256 | 126 | 16-23 | 30-52 |
0.50 ซม. | 1963 | 157 | 16-23 | 50-70 |
0.60 ซม. | 2827 | 188 | 16-23 | 70-90 |